กวางยุนโค้ดเมาส์

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเทศเกาหลีใต้

         สาธารณรัฐเกาหลี (อังกฤษRepublic of Koreaฮันกึล: 대한민국; ฮันจา: 大韓民國) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (อังกฤษSouth Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ อ่านเพิ่มเติม

                                        



ทวีปยุโรป

      ทวีปยุโรป มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน   อ่านเพิ่มเติม

                                                  


วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย



 
บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พอสรุปโดย สังเขป ดังนี้

                                                 รัฐสภา
     1.รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
    2.ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานสภา ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
    3.ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
    4.ให้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 99 จำนวน 100 คน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี
    5.พระ มหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ภายใน 60 วัน
    6.ประชาชนมีสิทธิเสมอกันในการเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
    7.มติของสภาให้ถือตามเสียงข้างมากคือ จำนวนเสียงที่ลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่ร่วมประชุม อยู่ในสภานั้น
    8.ในแต่ละปีให้มีการเปิดสมัยประชุม 2 ครั้ง ครั้งละ 120 วัน

คณะรัฐมนตรี
    1.พระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน แต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และรัฐมนตรี 35 คน ซึ่งอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่เป็นก็ได้
    2.ประธาน รัฐสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูล เกล้าเสนอ
    3.รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ และหากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องลาออกภายใน 30 วัน
4.ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา
    5.รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
                     มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
                     มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
                     สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
                     ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง
                    ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวัน ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
6. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เมื่อ
                    สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุเมื่อครบวาระ 4 ปี หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
                    คณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ
                    ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
    7. รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว เมื่อ
                    ตายหรือลาออก
                    ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
                    สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นการเฉพาะตัว
                    ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตามความผิดที่กระทำไปในขณะดำรงตำแหน่ง
                                                                                 ศาล
                        1.การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาล
                        2.ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรม
                        3.ศาล รัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานรัฐธรรมนูญ 1 คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
                        4.ถ้า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญนั้นมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือเป็นอันตกไป
                        5.ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น
                        6.ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
                        7.ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น