
บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี และศาล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
พอสรุปโดย สังเขป ดังนี้
รัฐสภา
รัฐสภา
1.รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
2.ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา
เป็นรองประธานสภา ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
3.ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
4.ให้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน
โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 99 จำนวน 100 คน
อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี
5.พระ
มหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ภายใน 60 วัน
6.ประชาชนมีสิทธิเสมอกันในการเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
7.มติของสภาให้ถือตามเสียงข้างมากคือ จำนวนเสียงที่ลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่ร่วมประชุม
อยู่ในสภานั้น
8.ในแต่ละปีให้มีการเปิดสมัยประชุม 2 ครั้ง
ครั้งละ 120 วัน
คณะรัฐมนตรี
1.พระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน แต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และรัฐมนตรี
35 คน
ซึ่งอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่เป็นก็ได้
2.ประธาน รัฐสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร
เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูล
เกล้าเสนอ
3.รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ
และหากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องลาออกภายใน 30 วัน
4.ในการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย
และนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา
5.รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
•
มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
•
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
•
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
•
ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง
•
ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปี
นับถึงวัน ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
6. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เมื่อ
•
สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุเมื่อครบวาระ 4 ปี หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
•
คณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ
•
ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
7. รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว เมื่อ
•
ตายหรือลาออก
•
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
•
สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นการเฉพาะตัว
•
ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตามความผิดที่กระทำไปในขณะดำรงตำแหน่ง
•
ศาล
•
1.การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาล
•
2.ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง
และเป็นธรรม
•
3.ศาล รัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานรัฐธรรมนูญ 1 คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน ซึ่งพระมหา
กษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
•
4.ถ้า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ
ธรรมนูญนั้นมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือเป็นอันตกไป
•
5.ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น
•
7.ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ
หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น